หัวข้อโครงงานวิศวกรรม 2562

1. การวิเคราะห์พาเนลวอร์เท็กซ์ที่มีความแข็งแรงเชิงเส้นสำหรับผลกระทบของการเปลี่ยนรัศมีชายหน้าที่มีต่อการกระจายความดันที่ผิวของแพนอากาศ

 

Linear Strength Vortex Panel Analysis of Effect of Changing the Leading Edge Radius on the Airfoil Pressure Distribution

 

พื้นฐานความรู้ : Fluid Mechanics, Ordinary Differential Equation, Programming

 

เป็นโครงงานวิศวกรรมที่พัฒนามาจากโครงงานวิศวกรรมในปีที่พ.ศ. 2561 ที่ผ่านมา โดยนิสิตจะศึกษาเกี่ยวกับ Vortex Panel Method (Boundary Element Method) ที่มีความแข็งแรงของวอร์เท็ก (Vortex Strength) แปรเปลี่ยนแบบเชิงเส้น โดยอาศัยการพัฒนาสมการและโปรแกรมต่อจากรุ่นที่ในปีที่ผ่านมา โดยจะมุ่งเน้นไปที่การศึกษาผลกระทบของรัศมีชายหน้าที่มีต่อการกระจายความดันที่ผิวของแพนอากาศชนิดต่างๆ

 

นิสิตที่มาลงชื่อแล้ว คือ นายศุภกิจรัฐ คงกระพันธ์, นายอาทิตย์ วิจิตรถาวรกุล, นายกฤตยชญ์ อัจฉราวรรณ์ โดย นายศุภกิจรัฐ คงกระพันธ์, นายอาทิตย์ วิจิตรถาวรกุล ได้นำเสนอผลงานวิจัยของรุ่นพี่ในการประชุมเครือข่ายวิศวกรรมเครื่องกล ครั้งที่ 33 โดยมี 1 บทความ ได้เข้าชิงรางวัลบทความดีเด่น

 

ในปี พ.ศ. 2552 โครงงานวิศวกรรมในระดับปริญญาตรีโดย จีราพร สุวรรณ์, บงกช จิระสถิตย์ถาวร, วรัมพร พรเลิศรังสรรค์ จะศึกษาเฉพาะ Source Panel Method โดยการเขียนโปรแกรม

 

ในปี พ.ศ. 2555 โครงงานวิศวกรรมในระดับปริญญาตรีโดย ณัฐวุฒิ วิทยานุกรณ์, ณัฐวุฒิ ม่วงศรีจันทร์, วีรชาติ ไทยเสถียร จะศึกษาเกี่ยวกับ Source-and-Vortex Panel Method แต่ใช้วิธีการแก้สมการในลักษณะของ Superposition คือ แยกสมการรวมออกเป็น 2 ส่วน คือ Source Panel Method และ Vortex Panel Method แล้วค่อยนำมารวมกันโดยกำหนดสัดส่วน ซึ่งในโครงงานนี้ ได้ศึกษาเกี่ยวกับสัดส่วนที่เหมาะสมนี้ ผลงานที่ได้ ทำให้นิสิตได้รับการตอบรับและได้นำเสนอผลงานดังกล่าว ในการประชุมเครือข่ายวิศวกรรมเครื่องกล ครั้งที่ 27

 

ในปี พ.ศ. 2556 โครงงานวิศวกรรมในระดับปริญญาตรีโดย นายกิจจา ภัทรทิพากร, นายธนกฤต กิจแสงภักดี, นายนฤรงค์ โตอัจฉริยวงศ์ จะศึกษาเกี่ยวกับ Source-and-Vortex Panel Method โดยจะใช้เงื่อนไขของ Kutta เข้าช่วยในการแก้สมการ ซึ่งจะได้ค่าที่แม่นยำมากยิ่งขึ้น โดยนิสิตกลุ่มนี้ ได้นำเสนอผลงานของรุ่นพี่ ในการประชุมเครือข่ายวิศวกรรมเครื่องกล ครั้งที่ 27 และผลงานของนิสิตกลุ่มนี้ ได้ทำให้นิสิตได้รับการตอบรับและได้นำเสนอผลงานดังกล่าว ในการประชุมเครือข่ายวิศวกรรมเครื่องกล ครั้งที่ 28

 

ในปี พ.ศ. 2557 โครงงานวิศวกรรมในระดับปริญญาตรีโดย นายนันทพนธ์ บัวเสือ, นายสุรศักดิ์ กรางใจ, นายอรรถพันธ์ ศรีลัง จะศึกษาเกี่ยวกับ Source-and-Vortex Panel Method โดยจะเพิ่มในส่วนของการคำนวณหาค่าสัมประสิทธิ์แรงยกและสัมประสิทธิ์แรงต้านของแพนอากาศชนิดต่างๆ โดยนิสิตกลุ่มนี้ ได้นำเสนอผลงานของรุ่นพี่ ในการประชุมเครือข่ายวิศวกรรมเครื่องกล ครั้งที่ 28 และผลงานของนิสิตกลุ่มนี้ ได้ทำให้นิสิตได้รับการตอบรับและได้นำเสนอผลงานดังกล่าว ในการประชุมเครือข่ายวิศวกรรมเครื่องกล ครั้งที่ 29

 

ในปี พ.ศ. 2558 โครงงานวิศวกรรมในระดับปริญญาตรีโดย นายพีรดนย์ ฉาไธสง, นางสาวจันทิพย์ สุริวรรโณ ศึกษาเกี่ยวกับ Constant Source-and-Linearly Vortex Panel Method โดยจะสร้างสมการสำหรับ Linearly Vortex Panel แล้วนำไปรวมกับ Constant Source Panel เพื่อทำนายสัมประสิทธิ์แรงยกของแพนอากาศ 10 ชนิด โดยนิสิตกลุ่มนี้ ได้นำเสนอผลงานของรุ่นพี่ จำนวน 2 บทความ ในการประชุมเครือข่ายวิศวกรรมเครื่องกล ครั้งที่ 29 และบทความหนึ่งได้เข้าชิงรางวัลบทความดีเด่น

 

ในปี พ.ศ. 2559 โครงงานวิศวกรรมในระดับปริญญาตรีโดย นายวชิรวิทย์ เงินท้วม, นางสาวสุทธิดา ดำทองสุข, นายอติชาต ทองสมบัติ ศึกษาเกี่ยวกับ Linear Strength Vortex Panel Method เพื่อคำนวณการกระจายความดันที่ผิวของแพนอากาศ 10 ชนิด พร้อมทั้งศึกษาอิทธิพลของมุมปะทะที่มีต่อการกระจายความดันนั้น โดยผลงานของนิสิตกลุ่มนี้ ได้ถูกนำเสนอในการประชุมเครือข่ายวิศวกรรมเครื่องกล ครั้งที่ 33 จำนวน 2 บทความ โดยมี 1 บทความ ได้เข้าชิงรางวัลบทความดีเด่น

 

ในปี พ.ศ. 2560 โครงงานวิศวกรรมในระดับปริญญาตรีโดย นายภาณุวัฒน์ ฉายปิติศิริ, นายกฤษณะ กลิ่นจรูญ, นายเกียรติศักดิ์ เอี่ยมจำรูญ ศึกษาเกี่ยวกับ Linear Strength Vortex Panel Method เพื่อคำนวณจุดศูนย์กลางความดันของแพนอากาศ 10 ชนิด พร้อมทั้งศึกษาอิทธิพลของมุมปะทะที่มีต่อจุดศูนย์กลางความดันนั้น

 

ในปี พ.ศ. 2561 โครงงานวิศวกรรมในระดับปริญญาตรีโดย นายชนกานต์ ลีลาวัฒนานันท์, นายพิชญ์ พิญญาพงษ์, นายคามิน ทิพย์เวศ ศึกษาเกี่ยวกับ Linear Strength Vortex Panel Method เพื่อคำนวณพิชชิ่งโมเมนต์ของแพนอากาศ 10 ชนิด พร้อมทั้งศึกษาอิทธิพลของมุมปะทะที่มีต่อพิชชิ่งโมเมนต์นั้น

 

2. การวิเคราะห์เอนทรานซีสำหรับสมรรถนะของเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนแบบท่อติดครีบที่อยู่ในสภาวะลดความชื้น

 

Entransy Analysis of Performance of Fin-and-Tube Heat Exchangers under Dehumidifying Conditions

 

พื้นฐานความรู้ : Thermodynamics, Heat Transfer, Refrigeration, Differential Equation, Programming

 

โครงงานวิศวกรรมนี้ นิสิตจะต้องศึกษาแบบจำลองทางคณิตศาสตร์เพื่อใช้ทำนายสมรรถนะของเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนแบบท่อคิดครีบที่อยู่ในสภาวะลดความชื้น โดยอาศัยหลักการของเอนทรานซี

 

นิสิตที่มาลงชื่อแล้ว คือ นายศราวุธ ปลุกใจ, นายอนุพงศ์ แผ่นผา, รสิตาวีร์ อัครชาติภิรมย์ โดย นายศราวุธ ปลุกใจ, นายอนุพงศ์ แผ่นผา, ได้นำเสนอผลงานวิจัยของรุ่นพี่ในการประชุมเครือข่ายวิศวกรรมเครื่องกล ครั้งที่ 33 โดยมี 1 บทความ ได้เข้าชิงรางวัลบทความดีเด่น

 

ในปี พ.ศ. 2550 ชานุพงษ์ จิตต์ธรรม, จตุโชค โชติช่วง, สุริยา ธุลี ได้ทำโครงการวิศวกรรมเครื่องกลในหัวข้อ การวิเคราะการถ่ายโอนความร้อนและโมเมนตัมในเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนแบบท่อติดครีบเรียบ โดยเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนอยู่ในสภาวะแห้ง คือ มีการถ่ายเทความร้อนสัมผัสแต่เพียงอย่างเดียว

 

ในปี พ.ศ. 2551 เจษฎ์ จิรวิบูลย์, วีรยุทธ อุดมพงพันธ์, สหชาติ เกตุจินากูล ได้ทำโครงงานวิศวกรรมเครื่องกลในหัวข้อ ผลกระทบของช่องว่างระหว่างครีบที่มีต่อลักษณะเฉพาะการถ่ายโอนความร้อนและมวลของเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนแบบท่อติดครีบเรียบในภาวะลดความชื้น โดยเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนในโครงงานวิศวกรรมนี้ จะเป็นเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนที่อยู่ในสภาวะเปียก คือ มีการถ่ายเทความร้อนสัมผัสและความร้อนแฝงไปพร้อมๆ กัน

 

ในปี พ.ศ. 2554 ดนัย แก้ววรรณา, ณัฐยา พรประเสริฐ, อนุสรณ์ อยู่สบาย ได้ทำโครงงานวิศวกรรมเครื่องกลในหัวข้อ วิธีอุณหภูมิกระเปาะแห้งสมมูลสำหรับการวิเคราะห์เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนแบบท่อติดครีบในสภาวะลดความชื้น โดยเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนในโครงงานวิศวกรรมนี้ จะเป็นเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนที่อยู่ในสภาวะเปียก คือ มีการถ่ายเทความร้อนสัมผัสและความร้อนแฝงไปพร้อมๆ กัน แต่จะใช้วิธีอุณหภูมิกระเปาะแห้งสมมูลในการสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ ซึ่งแตกต่างจากโครงงานวิศวกรรมของ เจษฎ์ และคณะ (2551) ที่ใช้วิธีศักย์เอนทัลปี

 

ในปี พ.ศ. 2558 ธนวันต์ กังวลกิจ, ณัฐพล เงินเจือ, ธันยพัฒน์ ธุระทำ ได้ทำโครงงานวิศวกรรมเครื่องกลในหัวข้อ การออกแบบที่เหมาะสมที่สุดสำหรับเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนแบบท่อติดครีบในสภาวะลดความชื้น โดยอาศัยวิธีศักย์เอนทัลปี โดยนิสิตกลุ่มนี้ ได้นำเสนอผลงานของรุ่นพี่ จำนวน 2 บทความ ในการประชุมเครือข่ายวิศวกรรมเครื่องกล ครั้งที่ 29

ใส่ความเห็น